รอบที่1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
ชื่อส่วนงาน: คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ โทร. 02-576-6000 ต่อ 8245-6
หลักสูตร: สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
จำนวนที่เปิดรับ: 12 คน (ตามความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์
เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์)
เกณฑ์:
1. วุฒิการศึกษา: สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า ม.6
2. แผนการศึกษา: วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ยกเว้นระบบโรงเรียนนานาชาติต้องมีผลการเรียนวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์ และวิชาคณิตศาสตร์
3. เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) รายละเอียด ดังนี้
-
- ระบบโรงเรียนปกติ เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมตอนปลาย หรือกำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2564 โดยมีผลการเรียนที่มีคะแนนสะสมเฉลี่ยตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จนถึงวันที่สมัคร ≥ 3.50 และมีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้ฯ (GPA) ในชั้นมัธยมปลาย ≥ 3.50 ใน 2 รายวิชา ได้แก่ เคมี และชีววิทยา
- ระบบโรงเรียนนานาชาติ เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาในชั้นปีสุดท้ายเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนนานาชาติทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้รับการเทียบความรู้จากกลุ่มทะเบียนและสารสนเทศทางการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2564 และต้องมีเกรดหรือผลการสอบวุฒิที่เทียบความรู้เท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย ใน 2 รายวิชา ได้แก่ Biology และ Chemistry ตามเกณฑ์ต่อไปนี้
- ผลการสอบระดับ A Level ทั้ง 2 รายวิชา แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า A หรือ
- ผลการสอบ International Baccalaureate (IB) Higher Level ทั้ง 2 รายวิชา แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 6
4. ผลการวัดความรู้ทางภาษาอังกฤษที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันรับสมัครวันสุดท้าย อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- TOEFL iBT ไม่ต่ำกว่า 64 คะแนน หรือ
- IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 คะแนน หรือ
- TOEIC ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน หรือ
- TOEFL iTP ไม่ต่ำกว่า 510 คะแนน
5. ค่าสอบสัมภาษณ์และพิจารณา portfolio 600 บาท ค่าตรวจร่างกายประมาณ 1,700 บาท
6. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ต้องประกอบไปด้วยหัวข้อต่อไปนี้
-
- ประวัติส่วนตัวพอสังเขป
- มีประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หนังสือรับรองหรือรางวัลในสาขาต่าง ๆ เช่น วิชาการ กีฬา ศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมจิตอาสา ที่ได้รับและเข้าร่วมในระหว่างการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมแนบรูปถ่าย, กำหนดการและหลักฐานที่จำเป็น โดยไฟล์ดังกล่าวต้องมีความละเอียดชัดเจนสามารถอ่านได้ หากมีรางวัลการแข่งขันวิชาการทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติหรือนานาชาติจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
- การเข้าฝึกงานในสถานพยาบาลสัตว์ที่ได้รับการอนุมัติจากสัตวแพทยสภา และ/หรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่มีใบมาตรฐานฟาร์มและอยู่ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ และ/หรือเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม และ/หรือเรียนออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์และวิชาชีพสัตวแพทย์ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวต้องอยู่ในระหว่างการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนชั่วโมงรวมไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมง โดยผู้สมัครต้องส่งหนังสือรับรองการเข้าฝึกงาน
(ดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือรับรองการเข้าฝึกงาน) และหลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการเรียนออนไลน์ เช่น ประกาศนียบัตร และกำหนดการ เป็นต้น โดยไฟล์ดังกล่าวต้องมีความละเอียดชัดเจนสามารถอ่านได้ - ระบุบุคคลอ้างอิง (reference) เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ได้ร่วมงาน สัตวแพทย์ที่ผู้สมัครไปฝึกงาน/อบรม เป็นต้น จำนวน > 2 ท่าน โดยต้องระบุตำแหน่งงาน สถานที่ทำงาน และเบอร์โทรศัพท์และ/หรืออีเมลที่สามารถติดต่อได้
7. คุณสมบัติ
-
-
- คุณสมบัติทั่วไป
- เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย
- เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เคยกระทำหรือร่วมกระทำการทุจริตในการสอบในระดับต่าง ๆ และไม่เคยถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาเพราะเหตุผลด้านความประพฤติ และรับรองว่าจะตั้งใจเล่าเรียนเต็มความสามารถและยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์โดยเคร่งครัดทุกประการ
- เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลตามระเบียบของทางราชการ เรื่องการปฏิบัติงานของผู้ชดใช้ทุนได้ โดยต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว หรือสัญญาปลายเปิดกับรัฐบาล เป็นระยะเวลาหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุน ตามระเบียบและเงื่อนไขที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำหนด
- ไม่เป็นผู้ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง ซึ่งจะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดในวันสอบสัมภาษณ์ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการตรวจและมติคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
- คุณสมบัติเฉพาะตามประกาศภาคีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2559 คือ ผู้สมัครต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ดังต่อไปนี้
- มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorders) ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
- เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
- เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วยและ การประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
- มีความพิการทางร่างกายอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์
- มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discrimination score) น้อยกว่า ร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural hearing loss) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
- มีความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้น ๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
- โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้นๆเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
- คุณสมบัติทั่วไป
-
ทั้งนี้สำหรับปัญหาสุขภาพหรือโรคในข้อใดข้อหนึ่ง ให้คณะพิจารณาตัดสิน ซึ่งผลการพิจารณาของคณะถือเป็นที่สิ้นสุด
8. เอกสารที่ต้อง Upload ในระบบสมัคร online และนำมาในวันสอบสัมภาษณ์
-
- รูปถ่ายดิจิทัลของผู้สมัคร เป็นรูปเดี่ยว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ สวมชุดนักเรียนสุภาพ พื้นหลังสีขาวหรือสีฟ้า ขนาด 1.5×2 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน และไม่ถูกปรับแต่งทางดิจิทัล มีขนาดของใบหน้าประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่รูป เป็นไฟล์นามสกุล .pdf หรือ .jpg ขนาดความกว้าง 180-500 พิกเซล และความสูง 200-600 พิกเซล ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 240 KB
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนด้านหน้าที่มีรูปของบัตร (ใช้เฉพาะด้านหน้า) บนกระดาษขนาด A4 ผู้สมัครลงลายมือชื่อ-ชื่อสกุลรับรองสำเนาถูกต้อง แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .pdf หรือ .jpg ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 2 MB
หมายเหตุ :ในกรณีที่ชื่อ หรือชื่อสกุลของผู้สมัคร ตามบัตรประชาชนไม่ตรงกับสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) ให้ถ่ายเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุลบนกระดาษ A4 แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .jpg ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 2 MB โดยสแกนเป็นไฟล์เดียวกันกับบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัครบนกระดาษขนาด A4 ผู้สมัครลงลายมือชื่อ-ชื่อสกุลรับรองสำเนาถูกต้อง แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .pdf หรือ .jpg ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 2 MB
- สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่โรงเรียนออกให้พร้อมมีตราประทับของโรงเรียน บนกระดาษ A4 แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .pdf หรือ .jpg (กรณีมี 2 หน้า ให้สแกนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง) ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 2 MB
หมายเหตุ :กรณีได้ผลการเรียนไม่ครบ 6 ภาคให้ใช้ 5 ภาค
- ใบรับรองคะแนนเฉลี่ย (GPA) ตามข้อ 3 (ดาวน์โหลดเอกสาร)
- สำเนาผลการทดสอบภาษาอังกฤษที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันรับสมัครวันสุดท้าย
- เอกสารตามข้อ 6 แฟ้มสะสมผลงาน (ที่ได้รับในช่วงเวลาที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย) มีความหนาไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4
- ใบสมัครที่สมัครผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรงของผู้สมัครขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ชุด (นำมาแสดงเฉพาะในวันสอบสัมภาษณ์)
9. การคัดเลือกเข้าศึกษา
คณะกรรมการพิจารณาบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการมหาวิทยาลัยมหิดล – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ปีการศึกษา 2565 โดยมีเกณฑ์การพิจารณาผู้สมัครดังนี้
ลำดับ | คุณสมบัติผู้สมัคร | ค่าน้ำหนัก (%) |
1 | แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio): รางวัลการแข่งขันทางวิชาการระดับโรงเรียน/จังหวัด/ภูมิภาค/ประเทศเกียรติบัตร/วุฒิบัตรที่แสดงถึงการเข้าร่วมกิจกรรม | 15 |
2 | ผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ | 15 |
3 | GPAX และ GPA รายวิชาชีววิทยาและเคมี | 10 |
4 | การฝึกงานในสถานพยาบาลสัตว์หรือฟาร์มสัตว์เลี้ยง และ/หรือการเข้าร่วมกิจกรรม การเรียนออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์และวิชาชีพสัตวแพทย์ | 10 |
ผู้ที่มีคะแนนรวมกันอย่างน้อย 25 คะแนน และอยู่ในลำดับที่ 1-20 อันดับแรกเท่านั้นจึงจะเป็นผู้ที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ โดยเกณฑ์การสอบสัมภาษณ์มีรายละเอียดดังนี้
ลำดับ | หัวข้อการสอบสัมภาษณ์ | ค่าน้ำหนัก (%) |
1 | ความรู้รอบด้านเกี่ยวกับสัตวแพทย์ | 10 |
2 | การนำเสนอผลงานแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ระยะเวลาภายใน 5 นาที + ตอบคำถาม 5 นาที | 10 |
3 | ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอด้วยวาจา ไอเดียกิจกรรมในหัวข้อ “Animal Health for Human Health สัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย”ระยะเวลาการนำเสนอภายใน 10 นาที + ตอบคำถาม 5 นาที | 10 |
4 | ทัศนคติต่อวิชาชีพและทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และหัวข้ออื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร | 20 |
ผู้ที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ที่มีคะแนนสัมภาษณ์ไม่น้อยกว่า 25 คะแนนและคะแนนรวมอยู่ในลำดับที่ 1-12 อันดับแรกเท่านั้น คือ ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
หากปรากฎภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือตรวจสอบพบว่าข้อความที่ได้แจ้งไว้ในใบสมัครและ/หรือเอกสารประกอบการสมัครเป็นเท็จ ผู้สมัครจะถูกเพิกถอนสิทธ์ในการได้รับการคัดเลือกครั้งนี้แม้ว่าผู้สมัครจะได้สมัครหรือผ่านการคัดเลือกแล้วก็ตาม นอกจากนี้ผู้สมัครยังอาจถูกดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายด้วย
10. เกณฑ์การพิจารณาและผลการตัดสินรับนักศึกษาของคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตร
สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (โครงการมหาวิทยาลัยมหิดล – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์) ถือเป็นที่สิ้นสุด
11. การให้ทุนการศึกษา
-
- ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการมหาวิทยาลัยมหิดล – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ จะได้รับทุนการศึกษาโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าภรณ์เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษา เพื่อพัฒนาผู้มีอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด้านภัยพิบัติ โดยทุนมีระยะเวลา 6 ปี/ทุน
- เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วผู้รับทุนจะต้องปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล หรือหน่วยงานที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดสรรให้ เป็นระยะเวลาหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุน
12. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
เป็นสัตวแพทย์ที่สามารถประกอบวิชาชีพในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ ในสาขาต่างๆ ได้แก่ การจัดการสุขภาพสัตว์ ควบคุมโรคสัตว์และโรคระบาดสัตว์ อนุรักษ์พันธุ์สัตว์และนิเวศวิทยา สัตวแพทย์สาธารณสุข อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ งานพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีอื่นๆ ทางสัตวแพทย์
ปรับปรุงวันที่ 23 สิงหาคม 2564 หลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต มหิดล-จุฬาภรณ์