รอบ 3 รับสมัคร คัดเลือกและบริหารจัดการร่วมกัน (Admission)
Admission1 รับตรงร่วมกัน (รับร่วมกับ กสพท.)
ชื่อส่วนงาน: คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ โทร. 02-576-6000 ต่อ 8245-6
หลักสูตร: สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
จำนวนที่เปิดรับ: 10 คน (ตามความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์) โดยรับร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)
เกณฑ์:
- วุฒิการศึกษา : สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษา ม. 6 หรือเทียบเท่า ม. 6
- คุณสมบัติ เกณฑ์การคัดเลือก การทดสอบวิชาเฉพาะเป็นไปตามประกาศของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)
- คุณสมบัติ
- คุณสมบัติทั่วไป
- เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย
- เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เคยกระทำหรือร่วมกระทำการทุจริตในการสอบในระดับต่าง ๆ และไม่เคยถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาเพราะเหตุผลด้านความประพฤติ และรับรองว่าจะตั้งใจเล่าเรียนเต็มความสามารถและยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์โดยเคร่งครัดทุกประการ
- ไม่เป็นผู้ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
- คุณสมบัติทั่วไป
-
- มีคุณสมบัติเฉพาะตามประกาศภาคีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2559 คือ ผู้สมัครต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ดังต่อไปนี้
- มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorders) ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
- เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
- เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วยและ การประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
- มีความพิการทางร่างกายอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์
- มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 – 2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discrimination score) น้อยกว่า ร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural hearing loss) อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
- มีความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้น ๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
- โรคหรือความพิการอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้นๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
- มีคุณสมบัติเฉพาะตามประกาศภาคีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2559 คือ ผู้สมัครต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ดังต่อไปนี้
4.ค่าสอบสัมภาษณ์ 200 บาทและค่าตรวจร่างกายประมาณ 1,700 บาท
5.เอกสารที่ต้องนำไปแสดงในวันสอบสัมภาษณ์ (ต้องมีครบทุกข้อ)
- ใบสมัครที่สมัครผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรงของผู้สมัครขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ชุด
- สำเนาใบแสดงผลการเรียนจากสถาบันการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้สมัคร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
6. เกณฑ์การพิจารณาและผลการตัดสินรับนักศึกษาของคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (โครงการมหาวิทยาลัยมหิดล – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์) ถือเป็นที่สิ้นสุด
7. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษาเป็นสัตวแพทย์ที่สามารถประกอบวิชาชีพในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ ในสาขาต่างๆ ได้แก่ การจัดการสุขภาพสัตว์ ควบคุมโรคสัตว์และโรคระบาดสัตว์ อนุรักษ์พันธุ์สัตว์และนิเวศวิทยา สัตวแพทย์สาธารณสุข อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ งานพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีอื่นๆ ทางสัตวแพทย์ หรือศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาสาขาสัตวแพทยศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง