ระบบ TCAS รอบที่ ๔ รับตรงอิสระ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔
ด้วยคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประสงค์เปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต โครงการมหาวิทยาลัยมหิดล – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ ระบบ TCAS รอบที่ ๔ รับตรงอิสระ จำนวน ๖ คน รายละเอียดดังต่อไปนี้
๑.คุณสมบัติทั่วไป
๑.๑ เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย
๑.๒ เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๑.๓ เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เคยกระทำหรือร่วมกระทำการทุจริตในการสอบในระดับต่าง ๆ และไม่เคยถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษาเพราะเหตุผลด้านความประพฤติ
๑.๔ เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลตามระเบียบของทางราชการ
เรื่องการปฏิบัติงานของผู้ชดใช้ทุนได้ โดยต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียวหรือสัญญาปลายเปิดกับรัฐบาลเป็นระยะเวลาหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุน ตามระเบียบและเงื่อนไขที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำหนด
๒.คุณสมบัติเฉพาะ
๒.๑ ต้องไม่เป็นผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในสถาบันใด ๆ หรือยืนยันสิทธิ์เข้าการศึกษาครบแล้ว ๒ ครั้งในรอบที่ ๑ – ๓ ของระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ (TCAS64)
๒.๒ ไม่เป็นผู้ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง
๒.๓ คุณสมบัติเฉพาะตามประกาศภาคีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๙ คือผู้สมัคร ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ดังต่อไปนี้
๒.๓.๑ ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (Psychotic disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood disorders) บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality disorders) ชนิด antisocial personality disorders หรือ borderline personality disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
๒.๓.๒ เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตรายที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้อื่นหรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาการปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
๒.๓.๓ เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
๒.๓.๔ มีความพิการทางร่างกายอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
๒.๓.๕ มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ ๕๐๐ – ๒,๐๐๐ เฮิรตซ์ สูงกว่า ๔๐ เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด(Speech discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาท การได้ยิน (Sensorineural hearing loss)อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
๒.๓.๖ มีความผิดปกติในการเห็นภาพ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้น ๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรค
ต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยมีระดับการมองเห็นในตาข้างดี เมื่อแก้ไขด้วยแว่นสายตาแล้ว แย่กว่า ๖/๑๒ หรือ ๒๐/๔๐
๒.๓.๗ โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ และคณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของสถาบันนั้น ๆ เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
๒.๔ วุฒิการศึกษา: ม.๖ หรือเทียบเท่า ม.๖
๒.๕ แผนการศึกษา: วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ยกเว้นระบบโรงเรียนนานาชาติต้องมีผลการเรียนวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์ และวิชาคณิตศาสตร์
๒.๖ เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX): ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔–๖ รวม ๖ ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า ๓.๒๕
๒.๗ เป็นผู้ที่มีผลคะแนนจากการสอบที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) ได้แก่ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลคะแนนการทดสอบความถนัดทั่วไป คือ วิชา GAT (รหัส ๘๕) ความถนัดทั่วไป และผลคะแนนทดสอบความถนัดวิชาชีพและวิชาการ คือ วิชา PAT๑ วัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ และวิชา PAT๒ วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ โดยคะแนนสอบจะต้องมีอายุจนถึงวันที่สมัคร
หมายเหตุ หากทางวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ตรวจสอบแล้ว พบว่าผู้สมัครได้ทำการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา TCAS รอบที่ ๑ – ๓ เป็นที่เรียบร้อยแล้วหรือเอกสารหลักฐานการสมัครซึ่งผู้สมัครนำมายื่นไม่ตรงหรือไม่เป็นตามประกาศรับสมัคร วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ จะถือว่าผู้สมัครเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการสมัครสอบครั้งนี้ และขอสงวนสิทธิ์ในการตัดรายชื่อออกจากผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกของโครงการมหาวิทยาลัยมหิดล – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ โดยจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการสมัครไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
๓.วิธีการสมัครและเอกสารประกอบการสมัครเข้าศึกษา
๓.๑ ดาวน์โหลด ใบสมัครเข้าศึกษารอบ 4 ที่นี่ และชำระค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ จำนวน ๒๕๐ บาท
โดยผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ พิมพ์ใบนำจ่าย (Bill Payment) ผ่านเว็บไซต์ http://vet.cra.ac.th กรอกรายละเอียดของผู้สมัคร ระบบจะสร้างใบนำจ่าย โดยผู้สมัครสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารตามรายการธนาคารที่กำหนดให้ในใบนำจ่าย (ระบบจะเปิดให้พิมพ์ใบนำจ่ายวันที่ 3-6 มิถุนายน 2564 เท่านั้น)
๓.๒ ส่งเอกสารประกอบการสมัคร (ต้องมีครบทุกข้อ) ทางอีเมล [email protected] และทางไปรษณีย์ ภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2564
๓.๒.๑ ใบสมัครที่กรอกข้อมูลประจำตัวผู้สมัครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว
๓.๒.๒ สำเนาใบเสร็จชำระเงินค่าสมัครจำนวน ๒๕๐ บาท จำนวน ๑ ฉบับ
๓.๒.๓ รูปถ่ายดิจิทัลของผู้สมัคร เป็นรูปเดี่ยว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ สวมชุดนักเรียนสุภาพ พื้นหลังสีขาวหรือสีฟ้า ขนาด ๑.๕x๒ นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน และไม่ถูกปรับแต่งทางดิจิทัล มีขนาดของใบหน้า ประมาณร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่รูป เป็นไฟล์นามสกุล .pdf หรือ .jpg ขนาดความกว้าง ๑๘๐-๕๐๐ พิกเซล และความสูง ๒๐๐-๖๐๐ พิกเซล ขนาดของไฟล์ไม่เกิน ๒๔๐ KB (สำหรับส่งทางอีเมลเท่านั้น)
๓.๒.๔ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนด้านหน้าที่มีรูปของบัตร (ใช้เฉพาะด้านหน้า) บนกระดาษขนาด A4 ผู้สมัครลงลายมือชื่อ-ชื่อสกุลรับรองสำเนาถูกต้อง แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .pdf หรือ .jpg ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน ๒ MB
* ในกรณีที่ชื่อ หรือชื่อสกุลของผู้สมัคร ตามบัตรประชาชนไม่ตรงกับสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑)ให้ถ่ายเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุลบนกระดาษ A4 แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .jpg ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน ๒ MB โดยสแกนเป็นไฟล์เดียวกันกับบัตรประจำตัวประชาชน
๓.๒.๕ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัครบนกระดาษขนาด A4 ผู้สมัครลงลายมือชื่อ-ชื่อสกุล รับรองสำเนาถูกต้อง แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .pdf หรือ .jpg ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน ๒ MB
๓.๒.๖ สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ ที่โรงเรียนออกให้พร้อมมีตราประทับ ของโรงเรียนบนกระดาษ A4 รับรองสำเนาถูกต้อง แล้วสแกนเป็นไฟล์นามสกุล .pdf หรือ .jpg (กรณีมี ๒ หน้าให้สแกนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง) ขนาดภาพเท่ากับ A4 ขนาดของไฟล์ไม่เกิน ๒ MB
๓.๒.๗ ใบรายงานผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
๓.๒.๘ หนังสือรับรองผลคะแนนการทดสอบความถนัดทั่วไป คือ วิชา GAT (รหัส ๘๕) ความถนัดทั่วไป ผลคะแนนทดสอบความถนัดวิชาชีพและวิชาการคือ วิชา PAT๑ วัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT๒ วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ตามที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) จัดสอบและไม่หมดอายุ
๓.๒.๙ ใบรับรองแพทย์โดยเข้ารับการตรวจจากโรงพยาบาลรัฐบาลหรือเอกชน ดังรายการต่อไปนี้
๑) ตรวจสายตาเบื้องต้น
๒) ตรวจตาบอดสี
๓) ตรวจความผิดปกติในการได้ยิน (whisper test)
๔) ตรวจ HBsAg และ Anti-HB
๕) ถ่ายภาพรังสีส่วนช่องอก (Chest X-ray)
ส่งเอกสารหลักฐาน ข้อที่ ๓.๒ ทางอีเมล [email protected] และทางไปรษณีย์ (EMS) ภายในวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๔ โดยระบุชื่อและที่อยู่ผู้รับจดหมายดังนี้ ฝ่ายการศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ๙๐๖ ถนนกำแพงเพชร ๖ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐
การสมัครจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อผู้สมัครส่งเอกสารประกอบการเข้าสมัครครบถ้วนและชำระเงินค่าสมัคร
ผ่านช่องทางที่กำหนดเรียบร้อยแล้วเท่านั้น วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
จะไม่คืนเงินค่าสมัครไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
๔. กำหนดการสมัครสอบคัดเลือก
ลำดับที่ | กิจกรรมการรับสมัคร | รอบที่ ๔ รับตรงอิสระ |
๑ | รับสมัครสอบคัดเลือก และชำระค่าสมัคร | ๓-๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ |
๒ | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | ๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ |
๓ | สอบสัมภาษณ์ออนไลน์ | ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ |
๔ | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์ | ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ |
หมายเหตุ ตารางกำหนดการดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ขอให้ผู้สมัครติดตามประกาศและดูรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.pccms.ac.th และ https://www.facebook.com/cra.veterinary/
๕. ค่าธรรมเนียมในการสมัคร ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบจำนวน ๒๕๐ บาท
๖. เกณฑ์พิจารณาผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ จะคัดเลือกผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์จากผู้มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์การสมัครขั้นต่ำและมีคะแนนวิชาการสูงสุด ๑๒ ลำดับแรก โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
ลำดับที่ | คุณสมบัติผู้สมัคร | ค่าน้ำหนัก (%) |
๑ | การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) | ๓๐ |
๒ | GAT (รหัส ๘๕) ความถนัดทั่วไป | ๑๕ |
๓ | PAT๒ วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ | ๑๕ |
๔ | PAT๑ วัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ | ๑๐ |
๕ | ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) | ๑๐ |
รวม | ๘๐ |
ทั้งนี้การสอบสัมภาษณ์คิดคะแนนเป็นร้อยละ ๒๐ ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา และผู้สมัครที่มีคะแนนรวมสูงสุด ๓อันดับแรกคือผู้ผ่านการคัดเลือกโดยผลการตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกถือเป็นที่สิ้นสุด
๗. เกณฑ์พิจารณาผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ จะคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
จากผู้มีคะแนนวิชาการและคะแนนสอบสัมภาษณ์สูงที่สุดไปต่ำสุด ตามจำนวนที่เปิดรับเท่านั้น โดยผลการตัดสิน
ของคณะกรรมการคัดเลือกถือเป็นที่สิ้นสุด